5 งานเด่นสำหรับกูรูด้าน Social Media
- By : Socialtag.info
- Category : โซเซียล มิเดีย

5 งานเด่นสำหรับกูรูด้าน Social Media
5 งานเด่นสำหรับกูรูด้าน Social Media สื่อออนไลน์ (Online Media) มีบทบาทกับสังคมปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อมูลข่าวสารบนสื่อออนไลน์ซึ่งมีอยู่มากมายนี้ มีทั้งข้อมูลจริง ข่าวลือ และ ข่าวลวง เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยมีสื่อใหม่
-
งานการตลาด
แม้สินค้าหรือบริการของบริษัทจะมีคุณภาพมากแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีการทำการตลาดออกไปให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย ก็คงยากที่สินค้าจะเป็นที่รู้จักและขายได้ดี โดยเฉพาะในยุคที่สื่อออนไลน์ และโซเชียลมีเดียเข้ามามีอิทธิพลอย่างทุกวันนี้ การทำการตลาดแบบออฟไลน์อย่างเดียวคงไม่พอ คนทำงานในสายการตลาดไม่ว่าจะเป็นนักโฆษณา ครีเอทีฟ นักพัฒนาธุรกิจ หรือ นักสื่อสารการตลาด ก็ต้องปรับตัวและสามารถนำโซเชียลมีเดียมาใช้ในการทำการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพได้

โดยทักษะที่คนทำงานสายนี้ควรมีเพื่อทำการตลาดทางโซเชียลมีเดียให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการคิด วิเคราะห์ และเก็บรวบรวมข้อมูล เพราะโซเชียลมีเดียมีเครื่องมือที่สามารถแสดงประสิทธิภาพของโพสต์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าเนื้อหาประเภทไหน โพสต์ในช่วงเวลาใด มีผลตอบรับที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร จากนั้นก็นำข้อมูลมาคิด วิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์ในการทำการตลาด หรือสร้างเนื้อหา และแคมเปญต่าง ๆ ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข และการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้าที่อยู่บนโซเชียลมีเดียของแบรนด์
-
งานคอมพิวเตอร์ / ไอที / โปรแกรมเมอร์
ถึงแม้ว่าคนทำงานในสายนี้จะเป็นผู้ที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง แต่ก็ต้องให้ความสนใจกับโซเชียลมีเดียด้วยเช่นกัน เพราะในยุคนี้เครื่องมือของโซเชียลมีเดียต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ฝั่งแบรนด์เองก็ควรมีการอัปเดตเพื่อให้สอดคล้องกับสินค้าและบริการตลอดจนความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น ดังนั้นจึงต้องอาศัยความสามารถด้านเทคนิคจากผู้ที่ทำงานในสายคอมพิวเตอร์ / ไอที / โปรแกรมเมอร์ ในการประยุกต์เอาเครื่องมือเหล่านั้นมาใช้

โดยคนทำงานสายนี้จะต้องอัปเดตเทรนด์และศึกษาเกี่ยวกับระบบหรือการทำงานใหม่ๆ ของโซเชียลมีเดียอยู่เสมอ เพื่อนำมาปรับใช้และพัฒนาให้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันสามารถทำงานร่วมกับโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้อย่างดีที่สุด มีความเข้าใจในอัลกอริทึ่มหรือเครื่องมือใหม่ๆ ของโซเชียลมีเดีย เพื่อนำมาต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานจำนวนมากในโซเชียลมีเดียได้
-
งานบริการลูกค้า
เมื่อลูกค้าต้องการสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ทั้งก่อนตัดสินใจซื้อและหลังซื้อสินค้าไปแล้ว คนกลุ่มแรกๆ ที่ต้องพูดคุยกับลูกค้าก็คืองานบริการลูกค้า ซึ่งต้องคอยดูแล ให้คำแนะนำ รวมถึงประสานงานหาทางแก้ไข เพื่อให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกประทับใจตั้งแต่ก่อนซื้อ ระหว่างซื้อ จนไปถึงขั้นตอนบริการหลังการขาย แต่นอกจากการสอบถามทางคอลเซ็นเตอร์แล้ว โซเชียลมีเดียของแบรนด์ก็เป็นอีกช่องทางที่เป็นที่นิยม

เพราะฉะนั้นนอกจากจะเป็นคนที่มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าเป็นอย่างดี และมีใจรักการบริการแล้ว คนทำงานสายนี้ควรมีความสามารถในการใช้โซเชียลมีเดียได้เป็นอย่างดีเพื่อให้บริการลูกค้าได้หลากหลายขึ้น และที่สำคัญก็คือมีทักษะการสื่อสารที่ดี ซึ่งการสื่อสารกับลูกค้าทางโซเชียลมีเดียนอกจากจะต้องตอบคำถามในสิ่งที่ลูกค้าสงสัย หรือหาวิธีแก้ปัญหาให้พวกเขาแล้ว การรับฟังและสังเกตฟีดแบ็กจากสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงการให้บริการหรือพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้นอีกด้วย
-
งานเขียน
ทุกวันนี้คนเราใช้ชีวิตกับสื่อออนไลน์มากขึ้น งานของคนที่รักการเขียนก็เลยไม่ได้จำกัดอยู่แค่บนสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น แต่ยังอยู่บนพื้นที่ออนไลน์อย่างเว็บไซต์ บล็อก หรือโซเชียลมีเดียด้วย ซึ่งล้วนเป็นพื้นที่ที่จะสื่อสารกับคนทั่วไปได้ง่ายและมีจำนวนมากขึ้น
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา “สื่อสังคมโซเชียลมีเดีย” ถือว่ามีอิทธิพลมากในชีวิตของคนรุ่นใหม่ในสังคมไทย ทั้งใช้เพื่อศึกษาข้อมูล ติดตามความเคลื่อนไหวในสังคม แต่ในโลกของสื่อชนิดนี้ก็มีทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดี ซึ่งบางครั้งถูกนำเสนอออกไปโดยไม่ผ่านการคัดกรอง ดังที่เห็นว่าเมื่อมีเหตุอะไรสื่อชนิดนี้จะแพร่ออกไปได้อย่างรวดเร็ว และอาจนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบตามมาอย่างที่เห็นในหน้าข่าว
จึงทำให้น่ากังวลว่าสังคมวัยรุ่นไทยปัจจุบันเมื่อใช้สื่อชนิดนี้แล้วจะสามารถแยกแยะได้หรือไม่ นับเป็นเรื่องน่าห่วงและสังคมควรให้ความสนใจหาทางป้องกัน มิฉะนั้นอาจเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยในอนาคต
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (electronic book, e-book) ที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัล 4.0 พร้อมเครื่องอ่าน e-book (e-book reader) เช่น Kindle, Kepler ฯลฯ กับการมี “แอป” ในการอ่าน e-book รูปแบบใหม่ๆ ที่สามารถดาวน์โหลดได้สบายๆ จาก smart phone สำหรับใช้เป็นสื่อกลางส่งผ่านการเล่าเรื่องจากผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอ่านครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างแอป เช่น จอยลดา, ธัญวลัย, Fictionlog, ReadAWrite และ Ookbee ซึ่งขยายตลาดไปในประเทศกลุ่มอาเซียน โดยมีสำนักงานในหลายประเทศ เช่น เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ตัวอย่างร้าน e-book ที่เปิดเว็บไซต์เป็นหน้าร้านขาย e-book ได้แก่ Meb, Naiin, The MATTER (เว็บไซต์ข่าวที่เสนอเป็นข่าวสั้นๆ ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย)
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอ่านครั้งใหญ่นี้มาจากพฤติกรรมการอ่านของผู้คนในยุค 4.0 โดยเฉพาะผู้อ่าน 3 กลุ่ม ซึ่งชื่นชอบการใช้อินเทอร์เน็ต 6-7 ชั่วโมงต่อวัน นิยมอ่าน รับรู้ หรือเสพ (ติด) เรื่องราวต่างๆ ทางออนไลน์ผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือผู้อ่านกลุ่ม Gen X, Gen Y, Gen Z นั่นเอง
ผู้อ่านทั้ง Gen X, Gen Y, Gen Z มักไม่อดทนที่จะอ่านหนังสือที่หนามากๆ เป็นเวลานานๆ ไม่ชอบอ่านอะไรที่ยาวๆ เป็น การอ่านแบบที่เรียกว่า “hyper reading” คือ อ่านแบบสมาธิสั้น หรือ อ่านแบบเร็วๆ เพราะพวกเขาคุ้นชินกับการใช้โปรแกรม สื่อออนไลน์ และเล่มเกมคอมพิวเตอร์ จึงชอบความสนุก เห็นผลรวดเร็ว เพียงแค่กดปุ่มด้วยปลายนิ้วเท่านั้น จึงได้มีการพัฒนา e-book ให้อ่านได้สนุกยิ่งขึ้น โดยลงเนื้อหาเป็นตอนสั้นๆ ติดต่อกันทุกวันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ ผู้อ่านกลุ่มนี้ได้ติดตามอ่านได้ตลอดต่อเนื่อง ถ้าเนื้อเรื่องขาดหายไปหรือลงไม่ต่อเนื่อง ผู้อ่านก็จะไม่สนใจติดตามอ่านอีกต่อไป ข้อควรระวังสำหรับการที่อ่านเร็วไป คือ ผู้อ่านเก็บข้อมูลได้น้อย ไม่สามารถวิเคราะห์เนื้อหาที่แท้จริงได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ อาจจะทำให้เกิดการเข้าใจคลาดเคลื่อน ตีความหมายผิดไป นำไปสร้างกระแสต่างๆ ที่เป็นทางลบในโลกโซเชียลได้
ตัวอย่างพฤติกรรมการอ่านแบบ “hyper reading” ที่ชัดเจนมากๆ คือ การอ่าน “นิยายแชต” ที่เป็นนิยาย e-book รูปแบบใหม่ผ่านแอป “นิยายแชต” มีสไตล์การเขียนและการเล่าเรื่องผ่านการแชตที่เป็นบทสนทนาของตัวละคร โดยไม่มีบทบรรยายเหมือนนิยายทั่วไป ทำให้ผู้อ่านโดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว รู้สึกมีส่วนร่วม เหมือนกำลังอ่านไปแชตไป ชอบเพราะอ่านได้เร็ว ทั้งยังใช้งานง่าย คือ ถ้าจะอ่านแบบ “แชตออโต้” บทสนทนาที่แชตอยู่บนหน้าจอจะเลื่อนไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ต้องสไลด์หน้าจอให้เมื่อยนิ้ว แต่ถ้าอ่านไม่ทัน สามารถแตะที่หน้าจอเพื่อหยุดได้ ทั้งยังสามารถปรับความเร็วในการอ่านนิยายแชตแบบช้า ปกติ และเร็วได้ตามต้องการ

แน่นอนว่าทักษะของคนที่จะทำงานเขียนจึงไม่ใช่แค่ใช้ภาษาที่ถูกต้องเท่านั้น แต่การสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย ต้องใช้ภาษาที่ดึงดูดให้คนสนใจ และกระตุ้นให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมกับโพสต์นั้น ๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องสื่อสารได้ชัดเจน ตรงประเด็น ที่สำคัญก็คือภาษาที่ใช้ต้องเป็นไปตามลักษณะของแบรนด์ที่นำเสนอ หรือตามคาแรคเตอร์ของแบรนด์ ตลอดจนต้องออกแบบให้เหมาะสมกับโซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์มที่มีรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกันไปด้วย
-
Multimedia Designer
การนำเสนอเนื้อหาผ่านภาพและวิดีโอหรือที่เรียกรวม ๆ ว่า “มัลติมีเดีย (Multimedia)” คือสิ่งที่แบรนด์ต่าง ๆ นิยมใช้ทั้งสื่อออฟไลน์ และโซเชียลมีเดีย เพราะนอกจากจะช่วยดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นแล้ว ยังบอกเล่าเรื่องราวที่ต้องการสื่อออกไปได้อย่างชัดเจน และเข้าใจง่ายมากขึ้นอีกด้วย ซึ่ง Multimedia Designer คือคนที่ทำหน้าที่ออกแบบ สร้างสรรค์ และลงมือทำ ไม่ว่าจะเป็นภาพหรือวิดีโอที่ใช้บนโซเชียลมีเดียนั่นเอง

คนทำงานในสายนี้นอกจากจะมีทักษะในการออกแบบได้สวยงาม น่าสนใจ และสื่อความหมายได้ตามที่ต้องการแล้ว ยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอมัลติมีเดียให้เหมาะสมกับโซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น ความยาวของวิดีโอ ขนาดของภาพ ประเภทไฟล์ที่รองรับ เป็นต้น