การใช้ Social Media หลังการเลือกตั้ง

: 229
การใช้ Social Media หลังการเลือกตั้ง
โซเซียล มิเดีย

การใช้ Social Media หลังการเลือกตั้ง

การใช้ Social Media หลังการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา ได้มีนักการเมืองในซีกรัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับการใช้ช่องทาง Social Media ในการสื่อสารกับประชาชนมากขึ้น โดยเฉพาะใน Facebook และ Twitter

เริ่มจาก “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่สร้างเพจใน Facebook มาตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2561 ปัจจุบันมีผู้กดถูกใจเพจของแกแล้วกว่า 7.5 แสนบัญชี

เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการรายงานภารกิจของนายกรัฐมนตรีและความเห็นของนายกฯ ต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ล่าสุด มีการประณามผู้ก่อเหตุความรุนแรงในจังหวัดยะลา เป็นต้น และเกือบทั้งหมดเป็นการสื่อสารทางเดียว ไม่มีการตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นต่อความคิดเห็นที่ประชาชนสะท้อนมาในเพจนี้ ไม่ว่าความเห็นนั้น จะเป็นการชื่นชมหรือด่าทอด้วยภาษาที่หยาบคายใดๆ ก็ตาม

ขณะที่เพจของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่สร้างมาเมื่อ 20 มีนาคม 2561 ปัจจุบันมีคนกดถูกใจเพจนี้กว่า 1.056 ล้านบัญชี กิจกรรมในเพจนี้ มีความหลากหลายกว่าเพจของลุงตู่เพราะมีการเชื่อมโยงกับเพจของพรรคอนาคตใหม่ด้วย

นอกจากเนื้อหาในเพจธนาธร จะเป็นการรายงานภารกิจของนายธนาธรแล้ว ยังมีช่วง #ธนาธรไลฟ์ ที่มีนายธนาธรมาพูดคุยเรื่องต่างๆ เช่น ล่าสุด มีการพูดถึงการทำงานของตนเองและทีมพรรคอนาคตใหม่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายปี 2563 รวมถึงมีการตอบคำถามของผู้ชมสดที่ถามเข้ามาอีกด้วย

ต่อมาเป็นเพจของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่สร้างมานานแล้ว (20 กันยายน 2553) แต่เพิ่งมาเคลื่อนไหวจริงจังในช่วงหลังการเลือกตั้งและเข้ารับตำแหน่งในรัฐบาลแล้ว ปัจจุบันเพจนี้ มีคนกดถูกใจแล้วประมาณ 9.8 แสนบัญชี

เนื้อหาส่วนใหญ่ในเพจนี้ เป็นการรายงานความเคลื่อนไหวของนายจุรินทร์อย่างละเอียดยิบ ทั้งการไปร่วมประชุมสำคัญๆ การไปร่วมงานต่างๆ ตามภารกิจของรัฐมนตรี รวมทั้งมีการสรุปข่าวที่สำคัญจากเว็บข่าวต่างๆ ด้วย แต่ที่จะแปลกไปกว่าเพจอื่นๆ คือ การที่ตอบกลับความเห็นและคำถามของแฟนเพจที่ส่งเข้ามาเป็นระยะๆ ด้วย

แล้วก็มาถึงเพจของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย รายนี้แปลกหน่อยตรงที่นอกจากจะมีหน้าแฟนเพจของตัวเองชื่อ “อนุทิน ชาญวีรกูล” ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2561 ปัจจุบันมีคนกดถูกใจแล้วประมาณ 9.5 หมื่นบัญชีแล้ว ยังมีเพจชื่อ Like Anutin ที่ระบุว่าจัดทำโดยผู้ที่ชื่นชอบนายอนุทิน โดยมีผู้ถูกใจอีกประมาณ 4.7 หมื่นบัญชี

ทั้งสองเพจนี้ มีการโพสต์ข้อความแบบสอดรับกันโดยเพจชื่อ อนุทิน จะมีรายละเอียดของการทำงานมากกว่า พร้อมทั้งมีเกร็ดการใช้ชีวิตของนายอนุทิน เช่น การไปทานอาหารตามร้านริมทาง ซึ่งแม้จะถูกวิจารณ์ว่าเป็นการสร้างภาพ ก็ยังเดินหน้าทำต่อไปเพราะให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมร้านอาหารเล็กๆ ริมทางให้เป็นที่รู้จัก

ฟากของพรรคพลังประชารัฐนั้น รัฐมนตรีหลายคนก็แห่พากันเปิดแฟนเพจขึ้นมาเพื่อสื่อสารกับประชาชนให้ทราบว่าตนทำงานอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สร้างเพจเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2561 มีผู้กดถูกใจประมาณ 1.07 แสนบัญชี

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สร้างเพจมานานแล้วตั้งแต่ปี 2555 แต่เพิ่งจะมามีความเคลื่อนไหวหลังได้เป็นรัฐมนตรี ปัจจุบันมีคนกดถูกใจประมาณ 3.67 แสนบัญชี ขณะที่นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สร้างเพจใหม่เอี่ยมเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมปีนี้เอง เพิ่งมีคนถูกใจแค่ 2 พันบัญชี

ส่วนด้านพรรคฝ่ายค้าน เพจที่มีคนติดตามค่อนข้างมากอีกคนคือ เพจของนายวัน อยู่บำรุง ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขตบางบอน/หนองแขม กทม. ที่มีสโลแกนส่วนตัวว่า “ใจถึง พึ่งได้” เพจนี้สร้างมาตั้งแต่ปี 2554 แต่เพิ่งมาเคลื่อนไหวในช่วงก่อนการเลือกตั้งนี้เอง ปัจจุบันมีคนถูกใจแล้วกว่า 1.35 แสนบัญชี

เพจนี้ รายงานความเคลื่อนไหวของ ส.ส.วัน อยู่บำรุง ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งมีการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาบ้านเมืองเรื่องต่างๆ อยู่เป็นระยะๆ แต่ที่น่าสนใจคือ ความเห็นของแฟนเพจส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะของการชื่นชมให้กำลังใจในการทำงาน

นอกจากใน Facebook แล้ว Twitter ยังเป็น Social Media ที่นักการเมืองนิยมใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารกับประชาชน โดยเฉพาะแกนนำพรรคอนาคตใหม่นั้น สามารถใช้ Twitter ได้อย่างคล่องแคล่วทุกคน

แต่วันนี้ อยากจะยกตัวอย่างบัญชี Twitter ของนายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.เขตคลองสาน บางกอกใหญ่ ธนบุรี พรรคอนาคตใหม่ สร้างบัญชีทวิตเตอร์มาตั้งแต่ปี 2553 แล้ว แต่มาใช้มากขึ้นในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งและหลังจากเป็น ส.ส. ปัจจุบันมีผู้ติดตามอยู่ประมาณ 3.49 หมื่นบัญชี ส่วนใหญ่ใช้ในการรายงานกิจกรรมของตนในฐานะ ส.ส. รวมทั้งเพื่อน ส.ส.ในพรรคและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของพรรคอนาคตใหม่

ขณะที่ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ สร้างบัญชีทวิตเตอร์มาตั้งแต่ปี 2554 และมีความเคลื่อนไหวแสดงความเห็นทางการเมืองผ่านช่องทางนี้มาอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันมีผู้ติดตามอยู่ที่ประมาณ 3.73 หมื่นบัญชี โดยนายเทพไท นับเป็นหนึ่งในนักการเมืองไทยเพียงไม่กี่คนที่ใช้ทวิตเตอร์เป็นช่องทางสื่อสารหลักมาโดยตลอด

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงบางส่วนของนักการเมืองที่นำเอา Social Media มาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับประชาชน แต่ส่วนใหญ่หากเป็นผู้ที่มีตำแหน่งทางการเมือง มักจะไม่มีเวลามาใช้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยทีมงาน ซึ่งหากทีมงานไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการใช้ Social Media สำหรับการเมืองแล้ว ช่องทางนั้น ก็จะเป็นการสื่อสารทางเดียวที่เป็นประโยชน์กับเจ้าของบัญชีเพียงบางส่วนเท่านั้น

จนถึงขณะนี้แล้ว เรายังไม่เห็นนักการเมืองไทยที่ใช้ Social Media ในการสื่อสารกับประชาชนอย่างจริงจัง ซึ่งหมายถึงการสื่อสารสองทางโดยไม่เห็นว่า ประชาชนเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมืองที่จะพาตนเองขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองเท่านั้น…


 

Spread the love
AKG N700 NCM2 Wireless หูฟังไร้สาย Over-Ear
โซเซียล มิเดีย
AKG N700 NCM2 Wireless หูฟังไร้สาย Over-Ear

AKG N700 NCM2 Wireless หูฟังไร้สาย Over-Ear AKG N700 NCM2 Wireless หูฟังไร้สาย Over-Ear เมื่อช่วงกลางปี Samsung ได้เปิดตัวหูฟังไร้สายในตระกูล AKG ทั้งหมด 3 รุ่น ได้แก่ N700 NC M2 Wireless, N200A Wireless และ Y500 Wireless ด้วยความที่ AKG เป็นแบรนด์ที่ขึ้นชื่อในวงการเครื่องเสียงอยู่แล้ว ทำให้หูฟังรุ่นใหม่นี้ถูกคาดหวังเอาไว้มากพอสมควร ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้รีวิวหูฟัง AKG Y500 Wireless กันไปแล้ว และก็ไม่ทำให้ผิดหวังแต่อย่างใด สำหรับครั้งนี้เรามาดูรีวิวหูฟังรุ่นท็อปอย่าง AKG N700 NCM2 Wireless กันบ้างดีกว่าครับ AKG N700 NCM2 Wireless เป็นหูฟังไร้สายไฮเอนด์แบบ …

Spread the love
“โซเชียลมีเดีย” นำธุรกิจไปสู่ความรุ่งเรืองในปัจจุบัน
โซเซียล มิเดีย
“โซเชียลมีเดีย” นำธุรกิจไปสู่ความรุ่งเรืองในปัจจุบัน

“โซเชียลมีเดีย” นำธุรกิจไปสู่ความรุ่งเรืองในปัจจุบัน “โซเชียลมีเดีย” นำธุรกิจไปสู่ความรุ่งเรืองในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ต่างหันมาใช้โซเชียลมีเดีย (Social Media) หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ในการทำการตลาดเกือบทั้งหมด เพราะตระหนักดีว่าเป็นช่องทางหนึ่งในการโฆษณาสินค้าและขายสินค้าได้เป็นอย่างดี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือมีก็ไม่มากหากเทียบกับการทำตลาดในรูปแบบอื่น ๆ ที่สำคัญมีประสิทธิภาพเยี่ยม และเห็นผลในระยะเวลาอันรวดเร็ว เรียกว่ายุคนี้ผู้ประกอบการรายใดไม่ใช้โซเชียลมีเดียเท่ากับว่าตกเทรนด์ไปแล้ว สำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลี่ยงหรือหนีคำว่า Social Media ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะพบเห็นมันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะยังสงสัยว่า “Social Media” มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมารู้จักความหมายของมันกันครับ คำว่า “Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน คำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น ดังนั้นคำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง          พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web …

Spread the love
5 งานเด่นสำหรับกูรูด้าน Social Media
โซเซียล มิเดีย
5 งานเด่นสำหรับกูรูด้าน Social Media

5 งานเด่นสำหรับกูรูด้าน Social Media 5 งานเด่นสำหรับกูรูด้าน Social Media สื่อออนไลน์ (Online Media) มีบทบาทกับสังคมปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อมูลข่าวสารบนสื่อออนไลน์ซึ่งมีอยู่มากมายนี้ มีทั้งข้อมูลจริง ข่าวลือ และ ข่าวลวง เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยมีสื่อใหม่ งานการตลาด แม้สินค้าหรือบริการของบริษัทจะมีคุณภาพมากแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีการทำการตลาดออกไปให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย ก็คงยากที่สินค้าจะเป็นที่รู้จักและขายได้ดี โดยเฉพาะในยุคที่สื่อออนไลน์ และโซเชียลมีเดียเข้ามามีอิทธิพลอย่างทุกวันนี้ การทำการตลาดแบบออฟไลน์อย่างเดียวคงไม่พอ คนทำงานในสายการตลาดไม่ว่าจะเป็นนักโฆษณา ครีเอทีฟ นักพัฒนาธุรกิจ หรือ นักสื่อสารการตลาด ก็ต้องปรับตัวและสามารถนำโซเชียลมีเดียมาใช้ในการทำการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยทักษะที่คนทำงานสายนี้ควรมีเพื่อทำการตลาดทางโซเชียลมีเดียให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการคิด วิเคราะห์ และเก็บรวบรวมข้อมูล เพราะโซเชียลมีเดียมีเครื่องมือที่สามารถแสดงประสิทธิภาพของโพสต์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าเนื้อหาประเภทไหน โพสต์ในช่วงเวลาใด มีผลตอบรับที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร จากนั้นก็นำข้อมูลมาคิด วิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์ในการทำการตลาด หรือสร้างเนื้อหา และแคมเปญต่าง ๆ ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข และการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้าที่อยู่บนโซเชียลมีเดียของแบรนด์ งานคอมพิวเตอร์ …

Spread the love